วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563


หน่วยความจําคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำ (Memory Unit)
          หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
       1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
           1.1หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory – ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
            โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

             1.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory – RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
              ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น




        2. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
             2.2 แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์

4.2.2) แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD

4.2.3) แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

4.2.4) แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น Flash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา



โทรศัพท์มือถือ


โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นอุปกรณ์สื่อสารอิเลคทรอนิคส์ลักษณะเดียวกับโทรศัพท์บ้านแต่ไม่ต้องใช้สายโทรศัพท์ จึงทำให้สามารถพกพาไปที่ต่างๆได้ โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่าน สถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของ โทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่นๆ  โทรศัพท์ มือถือในปัจจุบันนอกจากจะมีคุณสมบัติในการสื่อสารทางเสียงแล้วยังมีความสามารถอื่นอีก เช่น สนับสนุนการสื่อสารด้วยข้อความ เช่น SMS ,การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตการสื่อสารด้วยแบบ Multimedia เช่น  MMS, นาฬิกานาฬิกาปลุกนาฬิกาจับเวลาปฏิทินตารางนัดหมายสเปรดชีตโปรแกรมประมวลผลคำรวมไปถึงความสามารถในการรองรับแอปพลิเคชันของจาวา เช่น เกมส์ต่างๆได้ โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรล เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน (วรากรณ์  สามโกเศศ,2547)

 วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ
                 1.ยุค 1G (1st Generation) เริ่มตั้งแต่ยุคแรก ระบบยังเป็นระบบอะนาล็อก (Analog) และมีการแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ ในยุคนี้เราสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคนี้ผู้ใช้ก็ยังไม่ได้มีความต้องการที่จะใช้บริการประเภทอื่น


ที่มา : http://mobilephone2555.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

2.ยุค 2G (2nd Generation) เนื่องจากผู้ใช้มีความต้องการและความหลากหลายด้าน การบริการมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุจากแบบอะนาล็อกมาเป็นแบบ digital ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากบริการเสียง ทำให้ยุคนี้กลายเป็นยุคเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ และเพราะการให้บริการทางด้านข้อมูล ทำให้เกิดบริการอื่นๆ ที่ตามมมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นDownload Ringtone Wallpaper Graphic ต่างๆ แต่บริการในยุคนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ยังอยู่ระดับต่ำ



ที่มา : http://mobilephone2555.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

3.ยุค 2.5G (2.5 Generation) หลังจากนั้นเป็นยุคที่อยู่ระหว่าง 2G และ 3G ซึ่งก็คือ 2.5G ใน 2.5G นี้เป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) มาใช้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้มากกว่ายุค 2Gเทคโนโลยี GPRS สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 kbps แต่ ความเร็วของ GPRS ในการใช้งานจริงจะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น ซึ่งในยุค 2.5G นั้นจะเป็นยุคที่เริ่มมีการใช้บริการในส่วนของข้อมูลมากขึ้น และการส่งข้อความก็พัฒนาจาก SMS มาเป็น MMSโทรศัพท์มือถือก็เริ่มเปลี่ยนจากจอขาวดำมาเป็นจอสี เสียงเรียกเข้า จากเดิมที่เป็นเพียง Monotone ก็เปลี่ยนมาเป็น Polyphonic รวมไปถึง True tone ต่างๆ ด้วย




ที่มา : http://mobilephone2555.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

4.ยุค 2.75G คือยุคที่ต่อเนื่องมาจาก GPRS แต่จะมีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น และเรียกเทคโนโลยีที่สามารถเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลว่า EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ซึ่งจะมีความเร็วมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า หรือมีความเร็วสูงสุดประมาณ 384 kbps แต่มีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 kbps

5.ยุค 3G (Third Generation) เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 นั้นจะเป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานการรับส่งข้อมูล และเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สาย (Wireless) ที่ความเร็วที่สูงกว่ายุค 2.75G นอกจากนี้ 3G ยังสามารถให้บริการมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น (Application) รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น เช่น การรับส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ การใช้บริการ Video/Call Conference ดาวน์โหลดเพลง ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ ดู TV Streaming ต่างๆได้





6.4G ระบบโทรศัพท์มือถือที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ เชื่อกันว่าโทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชันที่ต้องการแบนด์วิธสูงเช่น ความจริงเสมือน 3 มิติ (3D virtual reality) หรือ ระบบวิดีโอที่โต้ตอบได้ (interactive video) เป็นต้น



ที่มา : http://mobilephone2555.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

ข้อดีและข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ
       ข้อดีของโทรศัพท์มือถือ
                1. หมายเลขสากลฉุกเฉิน 112 ใช้ได้ทั่วโลก ถ้าเกิดเราหลงไปอยู่ในเขตที่ไม่มีสัญญาณเลย แต่มีเหตุด่วนเหตุร้าย ให้กด 112 แล้วมันจะหาเบอร์ให้เองอัตโนมัติ แม้แต่เราล็อคปุ่มก็ยังกดเบอร์นี้ได้..ลองดูสิ
                2. ใช้ในกรณีที่ลืมกุญแจไว้ในรถ...สำหรับรถที่ใช้ Remote Key ถ้ารถล็อคไปแล้ว แต่เรามีกุญแจสำรองอยู่ที่บ้าน ให้โทรไปหาคนที่อยู่ที่บ้านด้วยมือถือ (เราต้องโทรไปหาเบอร์มือถือของเขาด้วยนะ) เมื่อเขารับแล้วให้เราบอกเขาให้กดปุ่ม unlock บนกุญแจสำรองในขณะที่เราถือมือถือให้ห่างจากประตูรถประมาณ 1 ฟุต (คนที่อยู่บ้านที่เราวานให้กดต้องเอากุญแจไปจ่อใกล้กับมือถือของเขาในขณะที่ กดปุ่ม) ประตูรถก็จะเปิดออกเหมือนเรากดปุ่มรีโมทด้วยตัวเองเลยแหละ ระยะทางไม่มีปัญหาแม้รถกับบ้านจะอยู่ห่างกันเป็นร้อย ๆ กม. ก็ตาม
                3. ทำให้เราสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ตลอดเวลา และแทบทุกสถานที่ ทำให้เราสามารถโทรนัดสถานที่ หรือโทรเรียกช่าง/บริษัทประกันมาได้ทันท่วงที เมื่อรถเสีย รถชนบนทางด่วนหรือในบางสถานที่ที่ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ ฯลฯ

     ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ 
                1. โทรศัพท์มือถือได้ก่อให้เกิดโรคใหม่ๆ หลายประการ ดังนี้
                   - โรคเห่อตามแฟชั่น นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรน ดูทันสมัย ไม่ตกรุ่น
                   - โรคทรัพย์จาง ดิ้นรนหาเงินเพิ่มหรือไปกู้หนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากค่าโทรศัพท์และค่าบริการต่างๆ
                   - โรคขาดความอดทนและใจร้อน เพราะความสะดวกสบายในการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ว่าตรงไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ กดปุ๊บ ติดปั๊บนี่เอง ทำให้หลายๆ คนกลายเป็นคนที่ทนรอใครนานไม่ได้ หรือไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
                   - โรคขาดกาลเทศะ และมารยาท เช่น การใช้โทรศัพท์เวลาประชุม อาจเป็นการรบกวนผู้อื่นในเวลานอน เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อน หรือเป็นวันหยุด กำลังใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เป็นต้น
                   - โรคขาดมนุษยสัพมันธ์ หากวันไหนไม่ได้โทรศัพท์ไปหาเพื่อน ก็อาจจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย โดยไม่คิดจะมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่นหรือคนที่อยู่รอบข้าง กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคม
                 2. นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว โทรศัพท์มือถือยังมีผลข้างเคียงทำให้เสียสุขภาพในด้านอื่นๆ อีก เช่น ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เพราะมัวแต่คุยทั้งวันทั้งคืนเลยนอนดึก นอนไม่พอ ทำให้หูตึงหรือมีโรคเกี่ยวกับหู เกิดอาการปวดหัว ไมเกรนหรือมีปัญหาทางเส้นประสาท เพราะคลื่นจากมือถือที่มีกำลังส่งแรงสูง
                 3. ทำให้เกิดพวกโรคจิตเพิ่มขิ้น คือพวกที่ชอบแอบถ่าย หรือบางคนก็ถ่ายภาพหวิวของตัวเองไปลงตามอินเตอร์เน็ต เพราะทำได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น
                 4. หลายๆ ครั้ง มือถือทำให้ขาดความระมัดระวัง ขับไปพูดไป จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ รถชนกัน หรือชนคนอื่น
                 5. นอกจากนี้ มือถือยังก่อให้เกิดอาชญากรรม ถูกคนร้ายติดตามมาทำร้ายร่างกายหรือแย่งชิงทรัพย์ได้ง่ายอีกด้วย
                  ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นเรื่องปกติที่ทุกอย่างจะเปรียบเสมือนกับดาบสองคม ที่ด้านหนึ่งย่อมต้องมีประโยชน์ อย่างไรก็แฝงมากับโทษที่ไม่เคยทราบมาก่อน มือถือให้ประโยชน์กับเรามากมาย แต่ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือกใช้เลือกปฏิบัติ แบ่งเวลาให้ถูกต้อง แค่นี้เราก็จะมีความสุขกับการใช้โทรศัพท์มือถือแล้ว


                    

ยานอวกาศ

             
ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่นำมนุษย์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติขึ้นไปสู่อวกาศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจโลกหรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น ยานอวกาศมี 2 ประเภท คือ ยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม และยานอวกาศที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม

10 ยานอวกาศ สำรวจดวงจันทร์

1.โครงการลูนา (Luna1-24 )
โครงการอวกาศชุดแรกที่สหภาพโซเวียต ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2502-2519 โดยประสบความสำเร็จสามารถถ่ายภาพด้านไกลของดวงจันทร์ สามารถลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้เมื่อปี 2509 นำตัวอย่างดินจากดวงจันทร์ประมาณ 100 กรัมกลับมายังโลกได้ในปี 2513, 2515 และ 2519 และมีรถสำรวจไปแล่นบนดวงจันทร์ในปี 2513 และ 2516 โดยยานลูนอคฮูด และ 2
ความสำเร็จของสหภาพโซเวียตในการพิชิตอวกาศนำหน้าสหรัฐอเมริกา ทำให้น่าซ่าต้องทุ่มเททั้งกำลังคน กำลังเงินและทรัพยากร ส่งคนอเมริกันไปดวงจันทร์ให้ได้ เพื่อศักดิ์ศรีของศึกพิชิตอวกาศ
ต่อมาในปี พ.ศ.2504 ประธานาธิบดีจอห์นเอฟ เคนเนดี้ (John F. Kennedy ) ประกาศต่อสาธารนะชนว่าสหรัฐอเมริกา จะต้องส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ให้ได้ก่อนปี พ.ศ.2513 โครงการอวกาศของนาซ่าจึงเกิดขึ้นอย่างเข้มข้น


ภาพ the Russian Luna program

2.โครงการเรนเจอร์ (Ranger 1-9)
เป็นทางฟากฝั่งสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2504-2508 เป้าหมายของโครงการถูก ออกแบบให้ยานไปพุ่งชนดวงจันทร์และทำการส่งภาพมายังโลกตั้งเเต่ก่อนพุงชน และขณะที่อยู่ห่างดวงจันทร์ตั้งแต่ระดับหนึ่งพันกว่าไมล์ และสุดท้ายเมื่อยานเข้าประชิดดวงจันทร์ในระยะเพียงไม่กี่ไมล์


ภาพ The Ranger program consisted of nine


3.โครงการลูนาร์ ออบิเตอร์ (Lunar Obiter 1-5)
สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2509-2510 มีเป้าหมายเพื่อถ่ายโดยรอบดวงจันทร์ในขณะที่ยานอวกาศวนรอบดวงจันทร์ จะต่างจากโครงการเรนเจอร์ที่กำหนดให้ไปพุ่งชน ครั้งนี้ประสบความสำเร็จมากจนทำให้แผนที่ดวงจันทร์ทั้งดวงเกือบ นับเป็นการบุกเบิกให้กับโครงการ  เซอร์เวเยอร์ และ อพอลโล ในอนาคต



ภาพ Lunar Obiter 
4.โครงการเซอเวเยอร์ (Surveyor)
สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2509-2511 นี่คือครั้งแรกมนุษย์ได้ควบคุมการลงจอดของยานอวกกาศลงบนดวงจันทร์จากโลก ได้อย่างนุมนวลและปลอดภัย ความสำเร็จของโครงการนี้เป็นจุดสำคัญที่สหรัฐฯ ได้นำไปพัฒนาต่อในโครงการอพอลโล



The Surveyor program

5.โครงการสกายแล็บ (Skylab)
เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐฯ มีเป้าหมาย คือ ให้มนุษย์ขึ้นไปใช้ชีวิตบนสถานีลอยฟ้าเพื่อทำการค้นคว้าทดลองให้ได้นานที่ สุด เน้นศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแพทย์ ฟิสิกส์ผลกระทบของสภาพไร้แรงดึงดูด



Skylab program

6.โครงการอพอลโล – โซยูส (Apollo Soyu)
นับเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต เพื่อร่วมกันทดสอบทดสอบระบบนัดพบและเชื่อมยานอวกาศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียตเข้าด้วยกัน โดยยานอะพอลโลของสหรัฐฯ มีนักบิน คน ขณะที่ยานโซยุซของโซเวียตมีนักบิน คน

ภาพ Apollo-Soyuz




7.โครงการยานขนส่งอวกาศ (Space Shuttle)
คือพาหนะสำหรับบรรทุกสิ่งของและมนุษย์ เพื่อขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ด้วยจุดประสงค์ที่จะลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มสมรรถนะในการใช้ประโยชน์จากอวกาศ
the space shuttle 

8.โครงการเมอคิวรี่ (Mercury)
เป็นโครงการที่ส่งมนุษย์ครั้งละ คน ขึ้นไปโคจรในอวกาศ เพื่อทดลองการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมอวกาศ ที่มีความโน้มถ่วงต่ำ

ภาพ The Mercury program 

9. โครงการเจมินี (Gemini)
ทดสอบการดำรงชีวิตในอวกาศ ด้วยการนำมนุษย์ คน พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนการดำรงชีวิตขึ้นไปโคจรในอวกาศ ให้สามารถดำรงชีพในอวกาศให้นานที่สุด พร้อมทั้งฝึกวิธี
นัดพบและต่อเชื่อมกับยานลำอื่นในวงโคจรรอบโลก และนับว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาการใช้เทคนิคการนำยานลงจอดในพื้นที่เป้า หมายได้อย่างเเม่นยำ

ภาพ Pilot Gemini 7

10. โครงการอพอลโล (Apollo 1-17)
โครงการอะพอลโล (Apollo 1-17) สหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ. 2511-2515
หลังจากน่าซ่าทำการศึกษาและพัฒนาโครงการทางอวกาศมาอย่างต่อเนืองยาวนาน และโดยเฉพาะจากโครงการต่อเนื่องจากเมอคิวรีและเจมินี กระทั่งสะสมศักยภาพด้านต่างๆ จนมาถึงคิวของโครงการอะพอลโล ที่มีจุดหมายสำคัญอยู่ที่การส่งมนุษย์ไปพิชิตพื้นผิวดวงจันทร์ได้อย่าง ปลอดภัย
โครงการอพอลโล จะใช้มนุษย์อวกาศครั้งละ คน สำหรับยานอวกาศที่ใช้ ตัวยานจะประกอบไปด้วย ส่วน คือ ยานบังคับการ เป็นที่อยู่ของนักบินอวกาศ ขณะเดินทางไปกลับโลกและดวงจันทร์ ยานบริการซึ่งอยู่ติดกับยานบังคับการ จะใช้สำหรับเป็นที่ติดตั้งของ อุปกรณ์และเครื่องยนต์ต่างๆ และยานลงดวงจันทร์ หรือ อีเกิ้ล” จะเป็นส่วนที่นำนักบินอวกาศสองคนลงบนดวงจันทร์
เแต่การเริ่มต้นของโครงการจะเปิดฉากได้ไม่ดีนัก เมื่อ ยานอะพอลโล่ เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ห้องบังคับการระหว่างการซ้อมที่ภาคพื้นดิน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 1967 ทำให้นักบินอวกาศ คน คือ Roger Chaffee,Virgil Grisson และ Edward White เสียชีวิตลง ทำให้นาซ่าต้องหยุดชะงักโครงการไประยะหนึ่ง ทำให้ยานอะพอลโล่ 4,5 และ ที่ส่งไป เป็นแบบไม่มีคนบังคับ ซึ่งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของจรวด Saturn หลักจากนั้นในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1968 ในอพอลโล่ จึงได้มีการส่งยานที่มีมนุษย์บังคับขึ้นไปสามคน คือ แฟรงค์ บอร์แมน (Frank Borman),เจมส์ เอ. โลเวลล์ (James A. Lovell) และ วิลเลียม เอ. แอนเดอส์ (William A. Anders) รวมทั้งอพอลโล่ และ 10 แต่เป็นเพียงการโคจรอยู่ในอวกาศรอบๆ ยังไม่ทำการลงจอดบนดวงจันทร์ ภายหลังเมื่อภารกิจของอพอลโล10 พบความสำเร็จ นาซ่าจึงเดินเครื่องอพอลโล 11 ต่อในเวลาไม่ถึงสองเดือน



ภาพ Astronauts of Apollo 11 To The Moon: Armstrong, Collins and Aldrin Image credit: NASA
และเเล้วโลกก็ตั้งตารอคอยวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2512 (ค.ศ. 1969) เมื่อนาซ่ากำหนดให้เป็นวันเดินทางของ อพอลโล 11 ยานที่จะนำพามนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์
เช้าวันประวัติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 คนนับล้านเฝ้ารอดูการเดินทางไปดวงจันทร์ ผ่านการถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ลูกเรือสามคน ของอพอลโล 11 ประกอบไปด้วย นีล อาร์มสตรองเอดวิน อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ยานทำการลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ ณ บริเวณทะเลแห่งความสงบ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2512 (วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969) เวลา 09:56 น. ตามเวลาในประเทศไทย
นีล เอ. อาร์มสตรอง (Neil A. Armstrong) ออกจากยานดวงจันทร์ โดยใช้เท้าซ้ายเหยียบลงบนพื้นดินดวงจันทร์ พร้อมกับกล่าวว่า ก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นก้าวกระโดดไกลของมนุษยชาติ” และนี่คือรอยเท้าแรกของมนุษย์บนดวงจันทร์



ภาพ Apollo 11 boot print image courtesy of NASA
เมื่อเวลาผ่านไป 19 นาที หลังจาก นีล อาร์มสตรอง ก้าวเท้าลงเหยียบพื้นดินดวงจันทร์ บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) ก้าวเท้าตามลงมา พร้อมกับกล่าวคำสั้นๆ ถึงเอ่ยคำออกมาสั้นๆ สภาพพื้นผิวบนดวงจันทร์ที่ตนมองเห็นว่า เป็นความอ้างว้างที่ยิ่งใหญ่มาก” (magnificent desolation) โดยมีลูกเรือคนที่สาม คือ ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) คอยควบคุมยานรออยู่ในอวกาศรอบดวงจันทร์
จากนั้นมนุษย์อวกาศทั้ง คนจึงทำการนำธงชาติสหรัฐปักลงไปบนพื้นดินดวงจันทร์ และทำการเก็บตัวอย่างดินหิน ดวงจันทร์กลับมายังโลกรวม 22.5 กิโลกรัม พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และสำรวจดวงจันทร์ภายในรัศมีที่กำหนดไว้
ภาพ Buzz Aldrin Salutes American Flag on the moon
พวกเขาใช้เวลาบนดวงจันทร์ทั้งสิ้น ชั่วโมง 31 นาที ก่อนเดินทางกับถึงโลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 24 กรกฎาคม ลงบนมหาสมุทรแปซิฟิก ภารกิจของอพอลโล 11 นับตั้งแต่ออกเดินทางจนกลับมาถึงโลกใช้เวลารวมเเล้ว 195 ชั่วโมงกับอีก 18 นาที
หลังจากอพอลโล 11 นาซาได้ส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์อีก ลำ มีเพียงอพอลโล 13 เท่านั้นที่ต้องยกเลิกภารกิจสำรวจดวงจันทร์เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุถัง ออกซิเจนในยานบริการระเบิดก่อนหน้าจะเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ วัน ยานจึงต้องเดินทางกลับโลกไม่ได้ลงสัมผัสดวงจันทร์ได้ตามแผน และ เมื่อเดือนธันวาคม? 1972 อพอลโล่ 17 ก็ได้ปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์ และปิดฉากโครงการอพอลโลลง